Horizon

Wednesday, June 28, 2017

[BitCoin] มาขุด บิตคอยน์ กันเถอะ

[BitCoin] มาขุด บิตคอยน์ กันเถอะ 



สำหรับ BitCoin คืออะไรนั้นสามารถอ่านได้จาก Internet ทั่ว ๆ ไป ดังนั้น ตอนนี้ ขอข้ามไปเลยนะครับ
สำหรับหน่วยของ BitCoint มีดังนี้
BTC คือ BitCoin
Satoshi คือ หน่วยย่อยของ BitCoin

1 BTC = 100,000,000 satoshi (ร้อยล้านซาโตชิ)

การได้มาของ Bit Coin มาจากไหนบ้าง
1. ซื้อ
2. เช่าขุด
3. ขุดเอง

วิธีแรกนั้น คือการซื้อ มาเองเลย ซึ่งสามารถเข้าไปซื้อ-ขายกันได้ เหมือนสกุลเงินชนิดหนึ่ง ซึ่งมีอัตราแลกเปลี่ยนที่ขึ้นลง เหมือนกับการแลกเปลี่ยนสกุลเงินทั่วไป สามารถเข้าไปทำรายการซื้อ-ขายกันได้ อย่างง่าย ๆ ของเว็บเมืองไทยคือ bx.in.th เป็นต้น
วิธีที่สอง เช่าขุด คือ การที่เราไปเช่าอุปกรณ์จาก Hosting เพื่อให้ Hosting ใช้ hardware ในการขุดให้เรา โดยจะมีอัตรการการเช่าขุด เช่น xxx USD. ต่อสัปดาห์ ต่อแรงขุด xxx GH/p เป็นต้น เช่น NiceHash
วิธีที่สาม ขุดเอง คือการลงมือทำเอง 

มาขุดเองกันเถอะ

หลักการของการขุดมีดังนี้
1. สร้าง Wallet ของตัวเองก่อน
เริ่มทำการสมัคร account เช่นใน nicehash หรือ bx.in.th ก่อน จากนั้น เข้าไปดูข้อมูลเลข Wallet ของเรา ซึ่งจะเป็นเลขมั่ว ๆ ยาว ๆ ตัวอย่าง

39Fg18hNZ2Rt4psKyYZj9SXM4FfhwF8XXX
ซึ่งเลข Wallet ก็เปรียบเหมือนเลขที่บัญชีของเรานั่นเอง

2. เริ่มต้นการหา Bit Coin
การหาเหรียญ BitCoin ทำได้หลายวิธี เช่น รับเหรียญฟรี, ชวนเพื่อน และการนำ Hardware ของเรามาขุด

*** ในบทความนี้ จะลงรายละเอียดส่วนของการนำ Hardware ของเรามาขุด

-  2.1 การรับเหรียญฟรี
จะมี Web Site ที่ทำการแจกเหรียญฟรี ซึ่งจะเด้งหน้า Adds หรือ Popup ขึ้นมากวนใจบ้าง ซึ่งจะสามารถกดรับเหรียญได้ฟรี เช่น ทุก ๆ 2 นาที แจก 20 satoshi เป็นต้น ซึ่ง Web พวกนี้ จะมี เรท ขั้นต่ำ เช่น ต้องสะสมให้ได้อย่างน้อย 0.0001 BTC (10,000 satoshi) เสียก่อน ถึงจะสามารถโอนเข้าสู่ Wallet ของเราได้ ซึ่ง Web พวกนี้ ก็จะมีการเก็บค่าธรรมเนียมในการโอนนั่นเอง
- 2.2 ชวนเพื่อน
เช่นเดียวกับวิธีแรก แต่จะเป็นการแนะนำ/ชวนเพื่อน โดยมี Wallet ของเราเป็นเลขอ้างอิง ซึ่งเราจะได้ส่วนแบ่งที่เพื่อนของเราทำในวิธีแรกมา เป็น % นั่นเอง
- 2.3 การนำ Hardware ของเรามาขุด
วิธีนี้ จะสะดวกกว่าวิธีการรับเหรียญฟรีนั่นเอง คือเราไม่ต้องมาคอย Click เอง แต่การจะได้มานั้น แลกมาด้วยการเอา เครื่องของเรา ไปรันโปรแกรมถอดรหัส นั่นเอง ซึ่ง Hardware ที่แนะนำคือ จะต้องมี การ์ดจอที่มี GPU เป็นอย่างน้อย

วิธีการทำดังนี้
2.3.1. Download โปรแกรมสำหรับการขุด เช่น nicehash, minergate ในตัวอย่างนี้ จะขอเลือก nicehash มาแสดงนะครับ
2.3.2. Run nicehash ขึ้นมา
2.3.3. กดปุ่ม Benchmark เพื่อทดสอบว่า เครื่องของเรา สามารถขุดด้วยวิธีการอะไรบ้าง
2.3.4. นำเลข Wallet มาใส่ กดปุ่ม Start

2.3.5. จะมีอีกหน้าต่างขึ้นมา แสดงขั้นตอนของการเริ่มขุด แล้วเราก็ปล่อยมันไปเรื่อย ๆ


3. การโอน และการแลกเปลี่ยนจาก BitCoin เป็นเงินจริง ๆ

สำหรับ nicehash ถ้าเราเอาเลข Wallet ที่ได้จากการสมัคร ในเว็บ nicehash มาใส่นั้น ทุก ๆ วันอังคาร จะทำการโอน BTC เข้าไปใน Wallet โดยจะต้องสะสมให้ได้อย่างน้อย 0.001 BTC ก่อน หากยังไม่ถึง ก็สะสมไป และในทุก ๆ วันอังคาร ก็จะมาตรวจสอบยอดสะสม ถ้าหากว่าถึง 0.001 BTC ก็จะโอนเข้าไปยัง Wallet ของเรา
แต่ถ้าเราเอา Wallet ของที่อื่นมาใส่ในโปรแกรม จะมีการตัดยอดโอนดังนี้

  • Once per day for external wallet unpaid balances, greater than 0.1 BTC.
  • Once per week for external wallet unpaid balances, greater than 0.01 BTC.
สำหรับความเร็ว-ช้า ในการขุด ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของเครื่องที่นำมาขุดล้วน ๆ ครับ
ตัวอย่างด้านล่างนี้
ผู้เขียนมีอยู่ 2 เครื่อง โดยเครื่องแรก ใช้วิธีการ Decred, เครื่องที่สองใช้ Equihash 
ซึ่งจะเห็นว่า Unpaid Balance ของ Equihash นั้น มีค่าสูงกว่า Decred มาก เพราะเครื่องที่สอง มี VGA Card ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า ทำให้สามารถขุดได้มากกว่า ในเวลาที่น้อยกว่านั่นเอง
นี่ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ ราคาการ์ดจอสูงขึ้น และขาดตลาดนั่นเอง

เอาหล่ะ ในการแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาท ทางผู้เขียนแนะนำให้สมัคร bx.in.th หลังจากที่ log in ไปเรียบร้อย ก็มาที่ Sell Order 
ใส่ค่า BTC to sell ลงไป จากนั้นก็ Create Order

*** อัตราแลกเปลี่ยนแต่ละช่วงเวลาไม่เท่ากัน ก่อนจะแลก ก็ลองเช็คดูก่อนนะครับ


สุดท้ายนี้ จะขอเขียนในส่วนของคำถามที่ว่า มันคุ้มค่ามั๊ย จะเราจะขุด เสียค่าไฟ กับการขุดที่ได้คุ้มกันรึป่าว
ซึ่งหลังจากที่เราได้ทำการขุด miner มาแล้ว เราจะรู้ว่า Hardware ที่เราใช้ มีประสิทธิภาพความเร็วในการขุดเท่าไหร่ แต่เรายังไม่รู้ว่า มันมีประสิทธิภาพที่คุ้มค่า กับค่าไฟที่เราเสียไปในการเปิดเครื่องหรือไม่
ให้เราไปที่ 

https://www.cryptocompare.com/mining/calculator/btc?HashingPower=0.100&HashingUnit=GH%2Fs&PowerConsumption=65&CostPerkWh=0.12

จากนั้น กรอกค่า Speed ของเราลงไป ใส่ค่าไฟที่เครื่องใช้งาน เช่น PC ประมาณ 400 Watt หรือ Notebook ประมาณ 60-90 Watt ลงไป กด Calculate มันก็จะบอกว่า คุ้ม หรือไม่คุ้มที่จะทำนั่นเอง