Horizon

Thursday, September 19, 2019

[Wi-Fi] OFDMA พลังที่ยิ่งใหญ่ ของ Wi-Fi 6

[Wi-Fi] OFDMA พลังที่ยิ่งใหญ่ ของ Wi-Fi 6

หลังจากที่ ปล่อยให้ Wi-Fi 5 หรือที่เรียกว่า 802.11ac ปล่อยออกมาสร้างกระแสซักพัก ต่อจากนี้ไป จะเป็นยุดของ Wi-Fi 6 หรือ 802.11ax กันแล้ว

ก่อนจะเข้าเรื่อง มากล่าวถึงที่มาที่ไปกันก่อน ทำไมเมื่อก่อน เราพูดกันแต่ 11a, b, g, n, ac กัน แล้วไอ้เลข 5, 6 มาจากไหน นั้นก็เพราะว่า มาตรฐานการเชื่อมต่อแบบไร้สาย Wireless LAN นี้ มันมี หน่วยงานยักษ์ใหญ่ที่คอยกำกับความสามารถ ฟีเจอร์ มาตรฐานอยู่ หลัก ๆ คือค่าย IEEE ซึ่งทำให้ เราก็เรียกกันว่า 11a, b, g, n, ac อย่างที่ผ่าน ๆ มา แต่จริงๆ แล้ว มันยังมีอีกค่าย คือ Wi-Fi Alliance หรือที่เรามักจะเห็น Logo คำว่า Wi-Fi กันนั่นเอง มาคราวนี้ ค่าย Wi-Fi Alliance (WFA) ได้ออกมาประกาศมาตรฐานก่อนค่าย IEEE เราจึงจะได้ยิน Marketing Word ก็คือคำว่า Wi-Fi 6 นั่นเอง ส่วนใครอยากจะเรียก IEEE802.11ax นั้น รอประมาณปี 2020 ก่อนนะครับ ทาง IEEE ถึงจะประกาศอย่างเป็นทางการ

เอาหล่ะมาเข้าเรื่องตามหัวข้อกันดีกว่า

OFDMA ย่อมาจาก Orthogonal Frequency-Division Multiple Access ...
แค่คำแปลก็ชวนนอนหลับแล้ว

เอาเป็นว่า มันมาช่วยตอบโจทย์ จุดอ่อนของ Wi-Fi 5 หรือ 802.11ac นั่นเอง โดยเจ้า Wi-Fi 5 นี้ จุดแข็งคือ High Speed Wireless Network สามารถส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว มี Throughput การส่งข้อมูลที่สูง
เมื่อต้องการส่งข้อมูลขนาดใหญ่ ๆ ก็จะสามารถส่งได้อย่างรวดเร็ว
แต่........
ปัญหาคือ ในโลกแห่งความจริง การเชื่อมต่อแบบไร้สายนี้ มันเป็นแบบ Single User คือ ใช้งานได้ทีละคน และไอ้เจ้า Traffic ที่เรา ๆ ใช้กันเนี่ย มันเป็นข้อมูลขนาดเล็ก ๆ นั่นเพราะ เพื่อให้การใช้งานของ client ที่มีความเร็วต่ำ ๆ นั้น สามารถใช้งานได้อย่างลื่นไหล และไอ้การที่ส่งข้อมูลชิ้นเล็ก ๆ จำนวนมาก ๆ นี้แหละ มันเลยทำให้จุดแข็ง กลายมาเป็นจุดอ่อน


ทำไมหน่ะหรือ นั่นก็เพราะว่า Wi-Fi 5 ได้สร้างตู้สำหรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ (ศัพท์เทคนิค เรียกว่า Resource Unit: RU) แต่ ดันมีเฉพาะข้อมูลขนาดเล็กใส่ลงไป อ้าว แล้วที่ว่าง ๆ ที่เหลืออยู่ละ ทำไง ก็เหลือที่เสียทิ้งยังไงหล่ะ
ลองคิดถึง ถนน ที่มีรถบรรทุกคันใหญ่ ๆ วิ่งเต็มถนนสิ แล้วไอ้รถบรรทุกแต่ละกัน ก็บรรทุกของนิดเดียวอีก
มันจะแออัดกันแค่ไหน



มันเลยมีเทคโนโลยี ที่ชื่อว่า OFDMA เกิดขึ้นมานั่นเอง เพราะคำว่า Multiple Access นี่แหละ มันแปลว่า สามารถใช้งานได้หลายคนพร้อมกัน

จากเดิม ที่บอกว่า มีตู้ขนาดใหญ่ มันก็ทำการปรับปรุงใหม่ ย่อให้ตู้มันเล็กลง และยัดเอาข้อมูลขนาดเล็ก จากหลาย ๆ client เข้าไปในตู้นี้ (สูงสุดคือ 9 client ใน 1 ตู้) นี่แหละเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการเชื่อมต่อแบบไร้สาย


และถ้ายังนึกภาพไม่ออก ไม่เป็นไร ดูภาพด้านล่างนี้เพิ่มเติม


แต่ ๆ  ๆๆ ๆ ๆ
แล้วบทความก่อน ๆ นี้ ที่เคยกล่าวถึง MU-MIMO หล่ะ ?????

แน่นอนว่า OFDMA กับ MU-MIMO นั้น ถ้าอ่านแบบคร่าว ๆ มันก็จะคล้าย ๆ กัน นั้นคือ การที่สามารถใช้งานได้พร้อม ๆ กัน แต่ OFDMA นั้น มันทำที่ระดับความถี่ (Frequency) แต่ MU-MIMO นั้น ทำงานที่ระดับ Spartial Stream ซึ่ง เป็นคนละแบบกัน แต่ในยุคของ Wi-Fi 6 นั้น ทั้ง 2 เทคโนโลยีนี้ มันสามารถมาทำงานร่วมกันได้ คือทำทั้ง OFDMA และ MU-MIMO เลย นี่แหละ ทำไม Wi-Fi 6 จึงได้ชื่อว่า High-Efficiency Wireless นี่เอง

Friday, September 13, 2019

[Review] Welcome to Cisco's Universe

[Review] Welcome to Cisco's Universe

ตอนแรกบทความนี้ ทางผู้เขียน ได้ร่างเอาไว้ ตั้งแต่ช่วงเดือน ก.พ. 2562 แต่ใช้เวลาในการตกผลึกกว่า 6 เดือน กว่าจะเขียนบทความนี้จบ

ผู้เขียน ได้มีโอกาสในการก้าวเข้ามาสู่จักรวาลของ Cisco จึงอยากจะเล่าประสบการณ์และเส้นทางในการเดินทางมาสู่จักรวาลแห่งนี้

เริ่มต้นจากการได้รับการติดต่อจากทีม Cisco Recruiter เข้ามา เพื่อแจ้งว่า เราเข้าตาในตำแหน่งงานที่กำลังจัดหา จากนั้นก็จะมีการ Confirm เวลานัดหมายสำหรับการสัมภาษณ์งาน ซึ่งตัวผู้เขียนได้รับการสัมภาษณ์ผ่านระบบ WebEx อันมีข้อดีคือ ไม่ต้องเดินทางไปเอง

การสัมภาษณ์งานในรอบแรก ทีม Cisco Engineer และ Manager
รอบแรกนี้ ไม่ได้ลงลึกอะไรมากมายเกี่ยวกับเทคโนโลยี แต่จะเป็นการ introduce myself ซะมากกว่า เราทำอะไรมาบ้าง ผ่านการทำงานมากี่ที่ มีลักษณะงานที่รับผิดชอบอย่างไร ถนัดเทคโนโลยีด้านไหนเป็นพิเศษ มี attitude อย่างไร อะไรชอบอะไรไม่ชอบ มีความรู้ และคิดอย่างไรเกี่ยวกับ Cisco อย่างไรบ้าง
ซึ่งตอนท้าย ทาง Manager ได้ทิ้งการบ้านว่า ให้ไปศึกษาด้านอะไรมาเพิ่มเติม ซึ่งจะมีผลต่อการสัมภาษณ์ในรอบที่สองนั่นเอง หลังจากเสร็จสิ้นแล้ว ทางทีม Recruiter จะรอ feedback จากทีมงาน ว่าเป็นอย่างไร มีแนวโน้น หรือสิ้นสุดแค่นี้ หลังจากที่ได้ feedback แล้ว ก็จะติดต่อกลับมา เพื่อทำนัดหมายสัมภาษณ์รอบที่สองนั้นเอง

การสัมภาษณ์งานในรอบที่สอง ทีม Cisco Engineer และ Technical Lead
ครั้งนี้ ไม่ต่างอะไรกับการสอบในระดับ JNCIP เลยทีเดียว เริ่มจากการทวนพื้นฐาน Networking กันก่อน ค่อยๆ ไล่รายละเอียดจากระดับ Layer 1 ของ OSI 7 Layer ไล่ขึ้นมาเรื่อย ๆ แน่นอนว่า หาก resume ที่เราเขียนไปนั้น over เกินจริง จะได้รับการคัดกรองจากการสัมภาษณ์รอบนี้เลย ตอนนี้ลองหันกลับไป แล้วถามตัวเองว่า รู้สึกอย่างไร ก็ต้องตอบเลยว่า เร้าใจ และท้าทายมาก ๆ ผ่านด่านความรู้พื้นฐานแล้ว ก็จะค่อยๆ ไล่ไปในแต่ละ เทคโนโลยี เช่น Switching/Routing, Wireless LAN, Security, WAN จริงๆ ก็มีมากกว่านี้ แต่เกรงว่ามันจะเยอะเกินไป 55555 แน่นอนว่า เค้าได้ถามตั้งแต่ การออกแบบ การเข้าใจปัญหา การแก้ไขปัญหา การนำเสนอ บางอย่างถ้าเราสามารถรู้ได้ลึกถึงระดับการติดตั้ง และ Troubleshooting ด้วย ก็จะดีมาก.
ซึ่งในแต่ละเทคโนโลยี เราจะได้ยินถึง Proprietary Technology ต่าง ๆ ของ Cisco ซึ่งตอนนั้น ทางผู้เขียนเอง ไม่ได้มีประสบการณ์ทางด้าน Cisco มามากนั้น ก็ได้ขอ guide ว่า ศัพท์นี้เกี่ยวกับอะไร และผู้เขียนก็ได้อธิบายไปว่า ถ้า technology นี้ มี standard ที่ใกล้เคียงเป็นอย่างไร มีการทำงานอย่างไร ซึ่งจะมีบาง Proprietary บางตัวที่ ผู้เขียน ก็ตอบไม่ถูกอยู่เหมือนกัน (หลังสัมภาษณ์ ก็ได้ไปหาข้อมูลว่า มันคืออะไร 55555+) 

เมื่อผ่านการสัมภาษณ์ทั้งสองรอบมาได้ คราวนี้คือ การรอคอยที่แสนยาวนาน รอเป็นเดือนเลยทีเดียว ระหว่างที่รอ บังเอิญว่า ผู้เขียน มีเหตุที่จะต้องไปศึกษางาน Technology ใหม่ ที่เพิ่งจะเข้ามาในประเทศไทย ทางบริษัท ได้แจ้งว่า ในการไป train ครั้งนี้ มีค่าใช้จ่าย ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการเซนต์สัญญา ทางผู้เขียน จึงได้ติดต่อสอบถามไปยังทีม Recruiter และอธิบายถึงเรื่องดังกล่าว เพื่อขอให้เร่งกระบวนการพิจารณาว่า ได้หรือไม่ได้ โดยให้เวลา dead line ไป ซึ่งทางทีม recruiter ก็เร่งประสานงานให้อย่างรวดเร็ว และแล้ว ก็ได้มาซึ่ง email ตอบรับ
ทางผู้เขียน จึงได้เข้าไปคุยกับทาง Manager ที่ทำงานอยู่ แจ้งว่า ผู้เขียน ขอไปผจญสู่โลกกว้าง ซึ่งโชคดีมาก ๆ ที่ Manager ของผู้เขียน เข้าใจ เปิดใจ และยินดีกับก้าวต่อไปของผู้เขียน

ผู้เขียน ใช้ประสบการณ์ในการทำงานมากว่า 13 ปี ก่อนที่จะได้เข้ามาสู้ Cisco's Universe นี้ ขอเป็นกำลังใจให้แก่ผู้ผ่านทุกท่าน ที่ทำงานด้านระบบ IT ว่า แม้จะไม่ได้เรียนจบมาจาก สถาบันที่มีชื่อเสียง ไม่ได้มีเกียรตินิยมพ่วงมา ขอเพียงแค่ตั้งใจทำงาน เก็บเกี่ยวประสบการณ์ ความรู้ให้ได้มาก ๆ รู้ให้จริง รู้ให้ลึก มีทัศนคติที่ดี แต่ที่สำคัญคือเรื่องของ ภาษา และการสื่อสาร เพราะตำแหน่งงานที่ผู้เขียนได้ เป็นการทำงานร่วมกับทีมงาน Global Asia Pacific เพราะ ฉนั้นแล้ว นอกจากจะทำงานได้ มีความรู้ ยังจะต้องสามารถสื่อสารให้แก่คนหมู่มากได้ด้วย

สู้ต่อไป นี่เป็นแค่หนึ่งในความท้าทาย เข้ามาได้แล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือ การเอาตัวรอด แน่นอนว่า คำว่า "ก้าวต่อไป ไม่หยุดก้าว" สำหรับ Cisco's Universe นี้ มันไม่พอ มันต้องเป็นคำว่า "วิ่งไปข้างหน้า วิ่งให้เร็ว อย่าให้ใครแซงเราได้"